logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: บริหารจัดการเงิน

เตรียมพร้อมลูกสู่ศตวรรษที่ 21 ผ่านการวางแผนการศึกษา

โดย นรินทร์ เอกวงศ์วิริยะ นักวางแผนการเงิน CFP®

 

ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและยุคที่ทั้งโลกถูกเชื่อมโยงกันด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เด็กที่เติบโตในศตวรรษที่ 21 การทำงานอาจไม่จำเป็นต้องอยู่ในสายวิชาชีพที่เรียนมา และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงไม่เพียงแต่ต้องเก่งด้านวิชาการ แต่ต้องมีทักษะสำคัญในการดำเนินการชีวิตด้วย ทักษะ 4 ด้านที่จำเป็นสำหรับอนาคตที่มีสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้าง ประกอบด้วย

 

  1. ทักษะพื้นฐานต่างๆ หรือทักษะความรู้ เช่น การคำนวน การอ่านเขียน และภาษา
  2. ทักษะการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ เช่น การมีความคิดสร้างสรรค์ การคิดเป็นระบบ การแก้ไขปัญหา และการสื่อสาร
  3. ทักษะชีวิตและอาชีพ เช่น การปรับตัวและการทำงานร่วมกับคนอื่นแบบทีม เป็นต้น
  4. ทักษะด้านดิจิทัลเทคโนโลยี่ต่างๆ

 

ปัจจุบันเริ่มมีแนวคิดว่าในอนาคตนั้นวุฒิการศึกษาและปริญญาบัตรยังมีความสำคัญอยู่หรือไม่ มีข้อมูลและบทความที่สนับสนุนการมุ่งตรงไปฝึกงานอาชีพนั้นโดยตรงเพื่อสะสมประสบการณ์แทนการเข้าเรียนมหาวิทยาลัย คนรุ่นใหม่ก็สนใจงานที่เป็นอิสระมากขึ้น ครอบครัวที่มองถึงอนาคตของลูกจึงต้องวางแผนเพื่อการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทางอาชีพที่เปลี่ยนไป รวมทั้งความสนใจ ความสามารถ และความถนัดของลูก พ่อแม่จึงไม่เพียงแต่ต้องวางแผนการศึกษาในโรงเรียนเท่านั้น แต่ควรช่วยเตรียมทักษะความพร้อมในด้านอื่นให้ลูกด้วย การวางแผนการศึกษาจึงมีความซับซ้อนกว่าเดิมและอาจจำเป็นต้องวางแผนการเงินควบคู่ไปด้วย โดยคำนึงถึง

 

  • ค่าเทอมต่อปีของโรงเรียนต่างๆ มีช่วงกว้างตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนปลายๆ ข้อมูลของโรงเรียนเอกชนชั้นนำพบว่าค่าเทอมต่อปีอยู่ในช่วง 60,000 – 180,000 บาทต่อปี ขณะที่โรงเรียนสองภาษามีค่าเล่าเรียนในช่วง 100,000 – 300,000 บาท สำหรับโรงเรียนนานาชาติอยู่ในช่วง 300,000 – 700,000 บาทต่อปี อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลจากการสุ่มโรงเรียนบางส่วนเท่านั้นและไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นที่โรงเรียนเรียกเก็บ เมื่อต้องการเริ่มวางแผนการศึกษาควรสอบถามข้อมูลจากโรงเรียนที่สนใจเพื่อให้การวางแผนมีความถูกต้อง

  • ระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้นมีค่าเทอมที่เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย ยกตัวอย่างจากโรงเรียนนานาชาติ 2 แห่งที่เผยแพร่ค่าเล่าเรียนไว้บนเว็บไซต์ของโรงเรียนให้เห็นภาพของค่าเทอมที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละระดับชั้นเรียน การวางแผนการเงินเพื่อการศึกษาจึงต้องคำนึงถึงค่าเทอมในชั้นปีต่างๆ ด้วย

 

โรงเรียนนานาชาติ 1

โรงเรียนนานาชาติ 2

ระดับชั้นเรียน

ค่าเทอมต่อปี (บาท)

เปรีบบเทียบปีเริ่มแรก

ระดับชั้นเรียน

ค่าเทอมต่อปี (บาท)

เปรีบบเทียบปีเริ่มแรก

Year 1 - Year 5

     729,900

 

Primary 1 - 2

     393,800

 

Year6 - Year 8

     813,500

 

Primary 3 - 4

     428,400

 

Year 9 - Year 11

     905,500

 

Primary 5 - 6

     474,700

 

Year 12 - Year 13

     949,800

130.1%

Grade 7 - 8

     509,400

 

 

 

 

Grade 9 - 10

     544,300

 

 

 

 

Grade 11 - 12

     659,900

167.6%

 

  • การวางแผนการศึกษาต้องคำนึงถึงเงินเฟ้อเพื่อการศึกษาที่ค่าเทอมจะปรับเพิ่มทุกๆ ปี อาจใช้อัตราเงินเฟ้อเพื่อการศึกษาที่ประมาณ 5% ในการคำนวณ
  • ยังต้องประมาณการค่าใช้จ่ายของกิจกรรมที่พ่อแม่ต้องจ่ายเป็นรายกิจกรรมและค่าใช้จ่ายประจำวันของลูกด้วย

 

เนื่องจากการศึกษามีระยะเวลาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนจบมหาวิทยาลัย ทำให้เป็นการวางแผนการเงินระยะยาวมากกว่า 10 ปี แผนการเงินเพื่อการศึกษาจึงควรประกอบด้วย 

 

ส่วนที่ 1 การสะสมเงินทุนการศึกษาตามเป้าหมายที่วางไว้

ส่วนที่ 2 ความคุ้มครองเงินทุนในส่วนที่ยังขาดอยู่

แผนการออม + แผนการลงทุน

แผนความคุ้มครอง

 

นอกจากการวางแผนการออมการลงทุนเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการศึกษา ควรวางแผนการคุ้มครองความสามารถในการออมของพ่อแม่ ด้วยการทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองเงินทุนการศึกษาส่วนที่ยังขาดทำให้แผนการศึกษาสามารถเดินไปได้โดยไม่สะดุด การสร้างความคุ้มครองจึงควรมีความยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความพร้อมทางการเงินและเป้าหมายที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในช่วงใดช่วงหนึ่งด้วย

 

สุดท้ายขอฝากว่าการวางแผนการศึกษาของลูกควรเริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการวางแผนด้วยตนเองอาจลองปรึกษานักวางแผนการเงินให้ช่วยจัดทำแผนการศึกษาที่เหมาะสมกับความพร้อมและเป้าหมายของครอบครัว เพื่อให้ลูกสามารถพัฒนาความพร้อมด้านต่างๆ สู่การเติบใหญ่และก้าวไปในอนาคตอย่างมั่นคง

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th